วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555
"มัลลาร์ด" รถจักรไอน้ำที่เร็วที่สุดในโลก
ในระหว่างการเดินทางด้วยรถไฟ ในวันหนึ่งที่ผ่านมา ผมนั่งมองวิวสองข้างทางรถไฟ ผ่านสายตาไปที่ละเฟรม ที่ละฃอต เงาของเสาโทรเลขแต่ละต้น เคลื่อนผ่านไปราวกับจะเตือนให้นึกถึงความจริงที่ว่า เวลาที่ผ่านไปนั้น มันรวดเร็ว และอดีตที่ผ่านไป ก็คือบันทึกแห่งความทรงจำที่ไม่อาจหวลคืนได้
มีคำถามที่คนไทยมักตั้งขึ้นเกี่ยวกับ รถไฟไทยก็คือ เมื่อไหร่หนอ ที่รถไฟไทย จะสามารถแล่นได้ด้วยความเร็วที่มากกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง??
ในยุคที่ รถจักรไอน้ำ กลายเป็นยานพาหนะคร่ำครึ ล่าช้า อืดอาดยืดยาดจนกระทั่งเป็นเหตุผลหนึ่งในการยุติบทบาทของมันลงไปเมื่อหลายสิบปีก่อน วันนี้ รถไฟไทย ที่มีการนำทั้งหัวรถจักรดีเซลหลากชนิด ทั้งไฮดรอลิก,ไฟฟ้า สารพัน มาใช้งาน ก็ไม่ได้ทำให้รถไฟไทย วิ่งเร็วไปกว่าในอดีตเมื่อสามสี่สิบปีที่แล้วสักเท่าไหร่
ลูกชายผมเคยตั้งคำถามที่ปนหยันเล็กๆ ตามประสาวัยรุ่น ว่า รถจักรไอน้ำสมัยพ่อ สามารถทำความเร็วสูงสุดได้เท่าไหร่กัน 30, 40 หรือ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง???
“ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง! “ ผมตอบสั้น ๆ นั่นทำให้ลูกชายเกิดอาการงง ปนหัวร่อ จนผมต้องขยายความต่อ
แน่ละ ถ้าจะพูดถึงรถจักรไอน้ำในสมัยโน้น โดยเฉพาะรถจักรไอน้ำไทย เราอาจต้องใช้เวลาในการโบกมืออำลา ญาติพี่น้องที่มาส่งที่ชานชาลา นานพอดู กว่าที่ชานชาลาจะค่อยลับสายตาไป เพราะความเร็วที่เฉลี่ยอยู่ที่ 50 – 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้ รถจักรไอน้ำไทย กลายเป็นคำล้อเลียนที่ว่า “ถึงก็ช่าง..ไม่ถึงก็ช่าง”
แต่ในอีกฟากฝั่งของการพัฒนารถจักรไอน้ำ อย่างประเทศอังกฤษ ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตรถจักรไอน้ำยุคแรกของโลกการทำให้รถจักรไอน้ำสามารถนำพาผู้โดยสารไปถึงปลายทางได้อย่างรวดเร็วแบบที่ยานพาหนะยุคปัจจุบันก็ยังต้องบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ด้วย
เจ้ารถจักรไอน้ำคันที่ว่า มีชื่อว่า มัลลาด์ (Mallard) ครับ
รถจักรไอน้ำ มัลลาด์ เป็นรถจักรไอน้ำแปซิกฟิค แบบวางล้อ 4-6-2 ชื่อเต็ม ๆ คือ LNER Class A4 4468 Mallard โดยคำว่า LNER ย่อมาจากคำว่า London and North Eastern Railway นั่นคือเส้นทางรถไฟของเจ้ารถจักรไอน้ำคันนี้
รถจักรไอน้ำ4-6-2 มัลลาด์ สร้างขึ้นโดย Doncaster railway works ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองDoncaster ประเทศอังกฤษ สำหรับผู้ออกแบบรถจักรไอน้ำคันนี้ คือ เซอร์ เฮอร์เบอรต์ ไนเจล เกรซลี่ (Sir Herbert Nigel Gresley) วิศวกรผู้มีชื่อเสียงด้าน รถจักรไอน้ำของอังกฤษ
รถจักรไอน้ำ มาลารด์ เป็นรถจักรไอน้ำที่พัฒนาต่อมาจากรถจักรไอน้ำแปซิกฟิค ที่เรียกกันว่า Flying Scotsman ซึ่งเป็นรถจักรไอน้ำใน CLASS A1 ที่สามารถทำความเร็วได้เกินกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในเวลานั้น
มาลารด์ เป็นรถจักรไอน้ำ ชนิด 3 สูบ ถูกสร้าง เมื่อ วันที่ 3 มีนาคม ค.ศ1938 โดยมีขนาดความยาว รวมถังลำเลียง คือ 70 ฟุต หรือราว 21 เมตรเศษ ตัวถังใช้สีน้ำเงินเข้ม คลุมด้วยปีกที่อ่อนโยนสีฟ้าอ่อน ทำให้ มาลาด์ กลายเป็น รถจักรไอน้ำที่เข้ม ขรึม ดุดัน แต่แฝงความอ่อนโยนในภายนอก
การออกแบบเพื่อให้ มาลาด์ เป็นรถจักรไอน้ำที่ มีลักษณะเพรียว ดูคล่องแคล่ว และสอดคล้องกับหลักพลศาสตร์แบบแอโร่ไดนามิก นั่นทำให้ มาลารด์ สอบผ่านด้านการทดสอบด้านนี้ ในอุโมงค์ลมไปได้อย่างสบาย
ในการทำสอบทำเวลา พบว่า มาลารด์ ทำสถิติวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดคือ 203 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งสามารถเอาชนะรถจักรไอน้ำที่เคยขึ้นชื่อว่าเร็วที่สุดในโลกสัญชาติเยอรมัน นาม DRG Class 05ซึ่งเป็นรถจักรไอน้ำแบบวางล้อ 4-6-4 ได้เฉียดฉิว โดยเอาชนะรถจักรไอน้ำจากเยอรมันที่เคยทำสถิติไว้ 200.4 กิโลเมตร/ชั่วโมง
มาลารด์ ทำหน้าทีรับใช้รับส่งผุ้โดยสารในตลอดอายุมากกว่า 2 ล้านกิโลเมตร และปลดระวางเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ.1963 นับเวลาที่เธอได้รับใช้ผู้คนมาประมาณ 25 ปี
ในราวปี ค.ศ.1986 มาลารด์ ถูกนำกลับมาทำนุบำรุงใหม่อีกครั้ง และได้มีโอกาสกลับมารับใช้ผู้คนอีกราว 2 ปี และในปี ค.ศ.1988 มาลาด์ จึงปิดฉากการรับใช้ในชีวิตอย่างถาวร ด้วยการถุกส่งไปเป็นเกียรติประวัติอยู่ใน พิพิทธภัณฑ์รถไฟแห่งชาติ ที่ ยอร์ค มาจนปัจจุบัน
มีคำถามที่คนไทยมักตั้งขึ้นเกี่ยวกับ รถไฟไทยก็คือ เมื่อไหร่หนอ ที่รถไฟไทย จะสามารถแล่นได้ด้วยความเร็วที่มากกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง??
ในยุคที่ รถจักรไอน้ำ กลายเป็นยานพาหนะคร่ำครึ ล่าช้า อืดอาดยืดยาดจนกระทั่งเป็นเหตุผลหนึ่งในการยุติบทบาทของมันลงไปเมื่อหลายสิบปีก่อน วันนี้ รถไฟไทย ที่มีการนำทั้งหัวรถจักรดีเซลหลากชนิด ทั้งไฮดรอลิก,ไฟฟ้า สารพัน มาใช้งาน ก็ไม่ได้ทำให้รถไฟไทย วิ่งเร็วไปกว่าในอดีตเมื่อสามสี่สิบปีที่แล้วสักเท่าไหร่
ลูกชายผมเคยตั้งคำถามที่ปนหยันเล็กๆ ตามประสาวัยรุ่น ว่า รถจักรไอน้ำสมัยพ่อ สามารถทำความเร็วสูงสุดได้เท่าไหร่กัน 30, 40 หรือ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง???
“ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง! “ ผมตอบสั้น ๆ นั่นทำให้ลูกชายเกิดอาการงง ปนหัวร่อ จนผมต้องขยายความต่อ
แน่ละ ถ้าจะพูดถึงรถจักรไอน้ำในสมัยโน้น โดยเฉพาะรถจักรไอน้ำไทย เราอาจต้องใช้เวลาในการโบกมืออำลา ญาติพี่น้องที่มาส่งที่ชานชาลา นานพอดู กว่าที่ชานชาลาจะค่อยลับสายตาไป เพราะความเร็วที่เฉลี่ยอยู่ที่ 50 – 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้ รถจักรไอน้ำไทย กลายเป็นคำล้อเลียนที่ว่า “ถึงก็ช่าง..ไม่ถึงก็ช่าง”
แต่ในอีกฟากฝั่งของการพัฒนารถจักรไอน้ำ อย่างประเทศอังกฤษ ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตรถจักรไอน้ำยุคแรกของโลกการทำให้รถจักรไอน้ำสามารถนำพาผู้โดยสารไปถึงปลายทางได้อย่างรวดเร็วแบบที่ยานพาหนะยุคปัจจุบันก็ยังต้องบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ด้วย
เจ้ารถจักรไอน้ำคันที่ว่า มีชื่อว่า มัลลาด์ (Mallard) ครับ
รถจักรไอน้ำ มัลลาด์ เป็นรถจักรไอน้ำแปซิกฟิค แบบวางล้อ 4-6-2 ชื่อเต็ม ๆ คือ LNER Class A4 4468 Mallard โดยคำว่า LNER ย่อมาจากคำว่า London and North Eastern Railway นั่นคือเส้นทางรถไฟของเจ้ารถจักรไอน้ำคันนี้
รถจักรไอน้ำ4-6-2 มัลลาด์ สร้างขึ้นโดย Doncaster railway works ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองDoncaster ประเทศอังกฤษ สำหรับผู้ออกแบบรถจักรไอน้ำคันนี้ คือ เซอร์ เฮอร์เบอรต์ ไนเจล เกรซลี่ (Sir Herbert Nigel Gresley) วิศวกรผู้มีชื่อเสียงด้าน รถจักรไอน้ำของอังกฤษ
รถจักรไอน้ำ มาลารด์ เป็นรถจักรไอน้ำที่พัฒนาต่อมาจากรถจักรไอน้ำแปซิกฟิค ที่เรียกกันว่า Flying Scotsman ซึ่งเป็นรถจักรไอน้ำใน CLASS A1 ที่สามารถทำความเร็วได้เกินกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในเวลานั้น
มาลารด์ เป็นรถจักรไอน้ำ ชนิด 3 สูบ ถูกสร้าง เมื่อ วันที่ 3 มีนาคม ค.ศ1938 โดยมีขนาดความยาว รวมถังลำเลียง คือ 70 ฟุต หรือราว 21 เมตรเศษ ตัวถังใช้สีน้ำเงินเข้ม คลุมด้วยปีกที่อ่อนโยนสีฟ้าอ่อน ทำให้ มาลาด์ กลายเป็น รถจักรไอน้ำที่เข้ม ขรึม ดุดัน แต่แฝงความอ่อนโยนในภายนอก
การออกแบบเพื่อให้ มาลาด์ เป็นรถจักรไอน้ำที่ มีลักษณะเพรียว ดูคล่องแคล่ว และสอดคล้องกับหลักพลศาสตร์แบบแอโร่ไดนามิก นั่นทำให้ มาลารด์ สอบผ่านด้านการทดสอบด้านนี้ ในอุโมงค์ลมไปได้อย่างสบาย
ในการทำสอบทำเวลา พบว่า มาลารด์ ทำสถิติวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดคือ 203 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งสามารถเอาชนะรถจักรไอน้ำที่เคยขึ้นชื่อว่าเร็วที่สุดในโลกสัญชาติเยอรมัน นาม DRG Class 05ซึ่งเป็นรถจักรไอน้ำแบบวางล้อ 4-6-4 ได้เฉียดฉิว โดยเอาชนะรถจักรไอน้ำจากเยอรมันที่เคยทำสถิติไว้ 200.4 กิโลเมตร/ชั่วโมง
มาลารด์ ทำหน้าทีรับใช้รับส่งผุ้โดยสารในตลอดอายุมากกว่า 2 ล้านกิโลเมตร และปลดระวางเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ.1963 นับเวลาที่เธอได้รับใช้ผู้คนมาประมาณ 25 ปี
ในราวปี ค.ศ.1986 มาลารด์ ถูกนำกลับมาทำนุบำรุงใหม่อีกครั้ง และได้มีโอกาสกลับมารับใช้ผู้คนอีกราว 2 ปี และในปี ค.ศ.1988 มาลาด์ จึงปิดฉากการรับใช้ในชีวิตอย่างถาวร ด้วยการถุกส่งไปเป็นเกียรติประวัติอยู่ใน พิพิทธภัณฑ์รถไฟแห่งชาติ ที่ ยอร์ค มาจนปัจจุบัน
ป้ายกำกับ:รถไฟต่างประเทศ
หมวดหมู่เนื้อหา
- บทความเก่า (2)
- บันทึกความทรงจำ (6)
- รถจักรไอน้ำสยาม (4)
- รถไฟต่างประเทศ (4)
- รถไฟบันเทิง (4)
จำนวนการเข้าชม
81376
บทความยอดนิยม
-
ทุกครั้งที่ผมเห็นของรถจักรไอน้ำ ที่มีรูปร่างหน้าตาแปลกประหลาด เตี้ย..ตุ่น ดุดัน...ภาพเก่า ๆ ในอดีตเมื่อครั้งนั่งดูคุณปู่แมกอาเธอร์ยังคง...
-
สวัสดีปีใหม่..2557 ทุกท่านครับ... ไม่ได้เขียนบทความลงใน blog นานพอดู ..วันนี้มีเวลาว่าง ขออนุญาตนำเรื่องราวของ รถไฟในอดีต มาเ...
-
ในระหว่างการเดินทางด้วยรถไฟ ในวันหนึ่งที่ผ่านมา ผมนั่งมองวิวสองข้างทางรถไฟ ผ่านสายตาไปที่ละเฟรม ที่ละฃอต เงาของเสาโทรเลขแต่ละต้น เคลื่อนผ...
-
Big Boy 4014 + 4012 พ่วงพหุ ถ้าจะลำดับความถึง ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะแล้ว มาถึงยุคนี้้ผมก็ยังคิดว่าไม่มียานพาหนะใดที่ดูแล้วม...
-
ผมเกิด และเติบโตในสังคมของ "คนรถไฟ" เมื่อเริ่มลืมตามองโลก ก็เห็นรถจักรไอน้ำ...เสียง ฉึกฉั่ก ๆ ๆ พร้อมไอน้ำพวยพุ่งขาวโพลน ดูมีชี...
-
รถจักรไอน้ำมิกาโด วางล้อแบบ 2-8-2 ผลิตประเทศญีป่น ภาพ :http://steamtrainstories.com ยะลา... ในอดีตที่ผ่านมาราว 30-40 ปีนั้น เป็นเพี...
-
เมื่อเอ่ยคำว่า "ประวัติศาสตร์" หลายหลากสำนักมักรวมเอาส่วนหนึ่งของ "คำบอกเล่า" หรือสิ่งที่เก่ากว่าท...
-
คืนหิมะตก..ก่อนวันคริสต์มาส เด็กน้อยนอนกระสับกระส่าย กับการเดินทางมาเยือนของ ซานต้าฯ และแล้วในคืนนั้น เสียงเครื่องจักรไอน้ำดำทะมึน พ...
เวบไซด์องค์กรรัฐ
สถิติการเข้าเว็บ
Thanks for. ขับเคลื่อนโดย Blogger.