วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556
มิกาโด..แมกอาเธอร์. จอมอึดในยุคสงคราม!
ทุกครั้งที่ผมเห็นของรถจักรไอน้ำ ที่มีรูปร่างหน้าตาแปลกประหลาด เตี้ย..ตุ่น ดุดัน...ภาพเก่า ๆ ในอดีตเมื่อครั้งนั่งดูคุณปู่แมกอาเธอร์ยังคงมีชีวิตชีวารับใช้ชาวประชาลากจูงสินค้าหนักเบาอย่างอดทนและเต็มกำลัง มันผุดให้ชวนคิดถึงทุกครั้งไป
นี่เป็นรถจักรไอน้ำที่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สงครามของสหรัฐอเมริกา เพราะเป็นรถจักรไอน้ำที่สร้างเกียรติประวัติและเป็นส่วนหนึ่งของแสนยานุภาพของกองทัพอเมริกันและพันธมิตร เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งทีสอง
สมัยที่ผมยังเป็นเด็ก ๆ เมื่อครั้งอยู่ยะลา ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงหวูดแหบแผดเสียงสนั่นแบบมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวดังของเจ้ารถจักรไอน้ำคันนี้ขึ้นทีไร ผมต้องทิ้งทุกอย่างหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อวิ่งไปชะโงกหน้าต่างดูขบวนรถที่กำลังแล่นเข้าชานชาลาขบวนนี้อย่างตื่นเต้น!
ผมคุ้นเคยกับเสียงหวูดรถจักร..จนแทบจะแยกออกได้เลยว่า นี่คือเสียงหวูดรถจักรของหัวไหน..ชนิดใดและแน่นอนหนึ่งในนั้นรวมทั้ง เจ้าแมกอาเธอร์!ที่มีเสียงหวูดที่แหบพร่าฟังแล้วชวนขนลุก จนเป็นเอกลักษณ์ประจำ
คนรถไฟในยุคนั้น มักจะเรียกรถจักรรุ่นนี้ว่า “แมกอาเธอร์” (แบบที่ฝรั่งอาจเรียก รถจักรไอน้ำชนิดนี้สั้น ๆว่า Mike) หรืออย่างเจ้ารถจักรไอน้ำแบบอีคลาส 4-6-0 นั้น คนรถไฟในยุคนั้นมักเรียกสั้น ๆว่า “รถอี” หรือบ้างก็เรียก “รถงาน”
ในทัศนะของผมยามเด็กนั้น...เจ้าแมกอาเธอร์ คือตัวแทนของ ผู้ชายเตี้ยล่ำบึก...ซึ่งก็น่าจะสมเหตุผล เพราะรูปร่างที่ออกแบบมานั้น จะเห็นได้ว่าเมื่อเทียบส่วนสัดกับรถจักรไอน้ำชนิดอื่น เช่นรถจักรไอน้ำมิกาโด้ญี่ปุ่น เจ้าแมกอาเธอร์กลายเป็นพวกที่ดูแล้วเตี้ยและขี้เหร่กว่าใครเพื่อนด้วยซ้ำ!
นึ่จึงไม่แปลกที่ แมกอาเธอร์ จึงถูกนำไปใช้เพื่อการลากจูงขบวนรถสินค้า ทั้งในหลายภูมิประเทศเช่นที่ราบสูงของในเมืองไทยจนได้รับฉายา “บักอึด” ก็ไม่ใช่เรื่องผิดประการใด
เมื่อพูด แมกอาเธอร์ ซึ่งถือเป็นหนึงในกลุ่มรถจักรไอน้ำที่เรียกกันเดิมว่า “มิกาโด” ก็อยากย้อนกลับไปเล่าเรื่องความเป็นมาของรถจักรไอน้ำ “มิกาโด” และกว่าจะมาเป็น “แมกอาเธอร์”
"มิกาโด" เป็นชื่อเรียกของรุ่น รถจักรไอน้ำ ที่ออกแบบการวางล้อ แบบ 2-8-2 นั่นหมายถึงรถจักรที่มีล้อลำเลียง (Leading Wheel) หน้า 2 ล้อ ตามด้วยล้อกำลัง (Driver) 8 ล้อ และปิดท้ายด้วยล้อตามหรือล้อหลัง (Trailing Wheel) อีก 2ล้อ
รถจักรไอน้ำ มิกาโด รุ่นแรก ๆ ถูกผลิตขึ้นในราวปี คศ.1897 ให้แก่ การรถไฟเอกชนของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นของ Nihon Tetsudo
![]() |
Matthias W. Baldwin |
ประเทศไทย ได้มีการสั่งซื้อรถจักรไอน้ำมิกาโด ก่อนรุ่นแมกอาเธอร์ เพื่อมาใช้ในกิจการของการรถไฟหลวง ส่วนใหญ่จะผลิตในประเทศอื่น ๆ เช่น มิกาโด (นาสมิท)ที่ผลิตในประเทศอังกฤษ, มิกาโด (บาตินยอลล์)ของฝรั่งเศส,หรือ มิกาโด ที่สมาคมและหลายบริษัทในญีปุ่นได้ผลิตขึ้นเอง ยกเว้นเพียงรุ่นเดียวที่ประเทศไทยได้รับรถจักรไอน้ำทีผลิตจากอเมริกาในช่วงสงครามคือ มิกาโด (แมกอาเธอร์) ในราวปี พ.ศ 2489
หลังจากการรถไฟเอกชน Nihon Tetsudo ของญี่ปุ่น ถูกควบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกิจการรถไฟของรัฐบาลภายใต้การนำของจักรพรรดิญี่ปุ่นจนมาในราวปี คศ.1941 และสงครามอ่าวเพริล์ฮาเบอร์ ระหว่าง ญี่ปุ่น กับ อเมริกา เกิดประทุขึ้น และเข้าสู่ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง
หลายบริษัทผู้ผลิตรถจักรไอน้ำชื่อดังของสหรัฐอเมริกาอาทิ Baldwin, Alco , Davenport, Vulcan Iron work etc ร่วมกันผลิตรถจักรไอน้ำมิกาโด เพื่อใช้ในกิจการสงคราม และด้วยความเป็นปฏิปักษ์กันในสถานะสงครามทำให้รถจักรไอน้ำรุ่นที่ถูกผลิตขึ้นนี้จึงต้องถูกผันชื่อเปลี่ยนนามกลับไปหาความเป็นอเมริกันดั้งเดิมในช่วงนั้น โดยเลือกใช้คำว่า "แมกอาเธอร์" ซึ่งเป็นแม่ทัพการทหารของอเมริกาแทนคำว่า "มิกาโด" เดิม
![]() |
Douglas MacArthur |
รถจักรไอน้ำมิกาโด แมกอาเธอร์ แบบที่ปรากฏในประเทศไทยนั้น เป็นรถจักรไอน้ำที่มีการออกแบบให้กระทัดรัดแต่ยังคงความเป็นรถจักรทรงพลังเพื่อกิจการในการใช้สำหรับขนส่งสินค้า หรือยุทโธปกรณ์,ยุทธภัณฑ์ ต่าง ๆ เพื่อใช้ในกิจการสงครามในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีรหัสในสายการผลิตที่เรียกว่า แบบ S118 CLASS โดยมีการผลิตให้สามารถใช้ในแบบความกว้างของรางที่หลากหลาย ทั้งแบบรางมาตรฐาน (Standard Gage) หรือแบบความกว้าง 1 เมตร (Narrow Gage) (แบบที่ใช้ในประเทศไทย) ฯลฯ
รถจักรเหล่านี้ถูกส่งไปยังหลายพื้นที่ในโลก เช่น แอฟริกาเหนือ,อิรัก,อินเดีย ออสเตรเลียหรือใกล้บ้านเราอย่างประเทศพม่า
![]() |
เพิ่มคำอธิบายภาพ |
![]() |
แมกอาเธอร์ AC16 CLASS QUEEN LAND Australi |
![]() |
มิกาโด แมกอาเธอร์ อินเดีย |
![]() |
มิกาโด แมกอาเธอร์ สิงค์โปร (malaya) |
และนับแต่นั้น มิกาโด อาเธอร์ จึงกลายเป็นรถจักรไอน้ำที่กลับมารับหน้าที่เพื่อประชาชนคนไทยจนกระทั่งวาระสุดท้ายหลังถูกตัดบัญชี
![]() |
มิกาโ้ด แมกอาเธอร์ 1974 |
แม้ในปัจจุบัน เจ้ามิกาโด (แมกอาเธอร์)จะไม่เหลือซากจอดไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับประวัติศาสตร์ที่ได้ผ่านวันคืนอันยาวนาน ทั้งโหดร้าย ของช่วงสงคราม และในฐานะของผู้นำการเดินทางให้แก่คนไทย แต่ความทรงจำที่ดีสำหรับหลายคนที่ได้เคยเห็น..ได้ยินเสียง ได้เห็นรูปลักษณ์ที่ดุดันกับไฟหน้าที่ไม่เหมือนกับรุ่นอื่น ๆ รวมทั้งได้สัมผัสกับพลังลากจูงอันแข็งแกร่งของเจ้ามิกาโดแล้ว คงต้องยอมรับกันทั่วไปว่า มันคือ "ที่สุดแห่งความทรงจำ ของรถจักรไอน้ำสยาม" อีกคันหนึ่ง
ป้ายกำกับ:รถจักรไอน้ำสยาม
หมวดหมู่เนื้อหา
- บทความเก่า (2)
- บันทึกความทรงจำ (6)
- รถจักรไอน้ำสยาม (4)
- รถไฟต่างประเทศ (4)
- รถไฟบันเทิง (4)
จำนวนการเข้าชม
บทความยอดนิยม
-
ทุกครั้งที่ผมเห็นของรถจักรไอน้ำ ที่มีรูปร่างหน้าตาแปลกประหลาด เตี้ย..ตุ่น ดุดัน...ภาพเก่า ๆ ในอดีตเมื่อครั้งนั่งดูคุณปู่แมกอาเธอร์ยังคง...
-
สวัสดีปีใหม่..2557 ทุกท่านครับ... ไม่ได้เขียนบทความลงใน blog นานพอดู ..วันนี้มีเวลาว่าง ขออนุญาตนำเรื่องราวของ รถไฟในอดีต มาเ...
-
ในระหว่างการเดินทางด้วยรถไฟ ในวันหนึ่งที่ผ่านมา ผมนั่งมองวิวสองข้างทางรถไฟ ผ่านสายตาไปที่ละเฟรม ที่ละฃอต เงาของเสาโทรเลขแต่ละต้น เคลื่อนผ...
-
Big Boy 4014 + 4012 พ่วงพหุ ถ้าจะลำดับความถึง ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะแล้ว มาถึงยุคนี้้ผมก็ยังคิดว่าไม่มียานพาหนะใดที่ดูแล้วม...
-
ผมเกิด และเติบโตในสังคมของ "คนรถไฟ" เมื่อเริ่มลืมตามองโลก ก็เห็นรถจักรไอน้ำ...เสียง ฉึกฉั่ก ๆ ๆ พร้อมไอน้ำพวยพุ่งขาวโพลน ดูมีชี...
-
รถจักรไอน้ำมิกาโด วางล้อแบบ 2-8-2 ผลิตประเทศญีป่น ภาพ :http://steamtrainstories.com ยะลา... ในอดีตที่ผ่านมาราว 30-40 ปีนั้น เป็นเพี...
-
เมื่อเอ่ยคำว่า "ประวัติศาสตร์" หลายหลากสำนักมักรวมเอาส่วนหนึ่งของ "คำบอกเล่า" หรือสิ่งที่เก่ากว่าท...
-
คืนหิมะตก..ก่อนวันคริสต์มาส เด็กน้อยนอนกระสับกระส่าย กับการเดินทางมาเยือนของ ซานต้าฯ และแล้วในคืนนั้น เสียงเครื่องจักรไอน้ำดำทะมึน พ...
เวบไซด์องค์กรรัฐ
สถิติการเข้าเว็บ
Thanks for. ขับเคลื่อนโดย Blogger.