วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557
ตำนาน "นักปรุงไอ" แห่งรถไฟไทย
ต้องขออภัยบางท่านที่ฝากให้ช่วยประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ
ขบวนรถจักรไอน้ำพิเศษ กรุงเทพ – อยุธยา ที่พึ่งผ่านมา ผ่านทาง facebook
ซึ่งกว่าจะได้มีเวลาเข้ามาอ่านก็ผ่านเทศกาลงานโชว์ของ ปู่ 824-850
ไปเป็นที่เรียบร้อย
ได้มีโอกาสอ่านสกรุ๊ปข่าวเกี่ยวกับ พขร.และช่างไฟ รถจักรไอน้ำรุ่นใหม่ที่ทำหน้าที่เป็นพลขับ คุณปู่ไอน้ำดังกล่าว ก็รู้สึกดีใจและมีความสุขที่ พขร.ท่านนั้นพูดถึงภารกิจที่ทำด้วยความภาคภูมิใจและที่สำคัญ คือ “ความรัก”
ได้มีโอกาสอ่านสกรุ๊ปข่าวเกี่ยวกับ พขร.และช่างไฟ รถจักรไอน้ำรุ่นใหม่ที่ทำหน้าที่เป็นพลขับ คุณปู่ไอน้ำดังกล่าว ก็รู้สึกดีใจและมีความสุขที่ พขร.ท่านนั้นพูดถึงภารกิจที่ทำด้วยความภาคภูมิใจและที่สำคัญ คือ “ความรัก”
สังคมรถไฟในยุคไอน้ำ..ผ่านมายุคดีเซลและกำลังจะมุ่งไปสู่ความเป็นรถไฟความเร็วสูงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
นับว่ามีความก้าวหน้าและความเปลี่ยนไปโดยเฉพาะในวิถีชีวิตและสังคม “ชาวสีน้ำเงิน”
มากไม่น้อย
ถ้าย้อนเวลากลับไปในยุค “ขี้เถ้าเคล้าขี้โล้” ที่ วิถีชีวิตของการนำพาผู้คนไปยังหนแห่งต่าง ๆ ด้วยรถไฟ.....ต้องฝากไว้กับชายสามคนบนหัวรถจักรไอน้ำที่ต้องใช้ทั้งหยาดเหงื่อแรงกาย ผสานความทรหดอดทนกับความอบร้อน..และที่สำคัญ มือที่หยาบกร้านของทั้งสามที่ต่างทำภารกิจบนหัวรถจักรไอน้ำนั้น นับเป็นห้วงเวลาคุ้มค่าแห่งความทรงจำเมื่อเวลาผ่านมาจนถึงวันเกษียณอายุ
ถ้าย้อนเวลากลับไปในยุค “ขี้เถ้าเคล้าขี้โล้” ที่ วิถีชีวิตของการนำพาผู้คนไปยังหนแห่งต่าง ๆ ด้วยรถไฟ.....ต้องฝากไว้กับชายสามคนบนหัวรถจักรไอน้ำที่ต้องใช้ทั้งหยาดเหงื่อแรงกาย ผสานความทรหดอดทนกับความอบร้อน..และที่สำคัญ มือที่หยาบกร้านของทั้งสามที่ต่างทำภารกิจบนหัวรถจักรไอน้ำนั้น นับเป็นห้วงเวลาคุ้มค่าแห่งความทรงจำเมื่อเวลาผ่านมาจนถึงวันเกษียณอายุ
ทุ่งสง..หาดใหญ่
คือ ชุมทางขุมกำลังสุดท้ายของบรรดารถจักรไอน้ำที่รอชะตากรรมวันสุดท้ายแห่งการรับใช้
...ในห้วงเวลานั้น เราจะเห็นสารพันไอน้ำทะมึนหลากสายพันธ์..หลายสัญชาติ
ละลานตาเต็มไปหมดทั้งในย่านสถานี และในอู่
ภาพของไอน้ำ..ควันพวยพุ่งหนา แข่งขันกันอวดศักยภาพความแรงของบอยเลอร์ตัวเอง... ความเก่งกาจของนักปรุงไอ...ช่างไฟหนึ่งคือ สิ่งที่ พขร รถจักรไอน้ำในยุคนั้น ให้ความสำคัญยิ่งนัก
ภาพของไอน้ำ..ควันพวยพุ่งหนา แข่งขันกันอวดศักยภาพความแรงของบอยเลอร์ตัวเอง... ความเก่งกาจของนักปรุงไอ...ช่างไฟหนึ่งคือ สิ่งที่ พขร รถจักรไอน้ำในยุคนั้น ให้ความสำคัญยิ่งนัก
มือหยาบกร้านของนายระลึก..ค่อย ๆ ลูบไล้เหรียญรางวัล ดูแลรถจักรดีเด่นที่ได้มาเมื่อครั้งทำหน้าที่ พขร. อย่างช้า ๆ และด้วยความทรงจำที่เริ่มเลือนราง....
“....รถจักรจะวิ่งดีหรือไม่ดี สำคัญที่สุดก็คือคนปรุงไอ..” เสียงแหบพร่าเพื่อจะเอ่ยเน้นย้ำว่า “คนปรุงไอ” คือ ผู้ปิดทองหลังพระ ของรถจักรไอน้ำไทย
การไต่เต้าเพื่อจะเป็นผู้กุมคันชักรถจักรไอน้ำ..ที่เรียกกันว่า “พขร” นั้น ไม่ได้มาด้วยโชคช่วย..แต่เป็นการกรุยทางที่ต้องเอาทั้ง หยาดเหงื่อ..แรงกาย..ความทุ่มเท..และการเรียนรู้ เพื่อให้มาซึ่งเป้าหมายอันเป็นที่รัก
“.. กว่าจะได้มาเป็น พขร ..มันต้องทดสอบความอึดกันแบบเห็น ๆ “ แกเล่าต่อ
“ บางคนเข้ามาเป็นช่างไฟสอง ..ต้องทดสอบลงบ่อ..แบบแหนบ ดูความอึด...แถมโยนฟืนเข้าเตากันกว่าจะได้มาเป็น ช่างไฟหนึ่ง ..บางทีก็เล่นเอาผมหงอกแล้วก็มี” เล่ามาถึงตรงนี้พร้อม ๆ กระพริบตาถี่ ๆ เพื่อเรียกความทรงจำกลับคืนมา
แน่นอน..ว่า ในยุค “ขี้เถ้า” ชายสามคนบนหัวรถจักรไอน้ำ ต่างกันมีภารกิจต่าง แต่รวมกันเป็นหนึ่งเพื่อให้
ไอน้ำห้อตะบึงไปอย่างดุดัน...และไม่แสดงถึงความอ่อนแอ ..แม้นสังขารจะร่วงโรย
การสิ้นสุดของตำแหน่งช่างไฟสอง...กับการมาของ รถจักรไอน้ำน้ำมันเตา ..หลายคนดีใจที่บนหัวรถจักรจะไม่มี ภาพช่างไฟสองหรือ “คนโยนฟืน” ที่ร่างกายโทรมไปด้วยเหงื่ออีกต่อไป
แต่ในที่สุดเพียงไม่นานก็ถึงกาลอวสานแม้นกระทั่งตำแหน่ง “ช่างไฟหนึ่ง” หรือ “คนปรุงไอ” ในที่สุด เพราะคำสั่งให้สิ้นสุดการใช้งานรถจักรไอน้ำมาถึง....
คุณปู่ คุณทวดรถจักรไอน้ำ ทุกคัน แม้นจะเหลือบ้างเพียงสองสามคันไว้ทำหน้าที่สับเปลี่ยน แต่สุดท้ายทุกคันก็ถึงแก่กาลเวลาแปรสภาพเป็น “เศษเหล็ก” ช่างกิโลขายอย่างน่าอาลัย
การสิ้นสุดของตำแหน่งช่างไฟสอง...กับการมาของ รถจักรไอน้ำน้ำมันเตา ..หลายคนดีใจที่บนหัวรถจักรจะไม่มี ภาพช่างไฟสองหรือ “คนโยนฟืน” ที่ร่างกายโทรมไปด้วยเหงื่ออีกต่อไป
แต่ในที่สุดเพียงไม่นานก็ถึงกาลอวสานแม้นกระทั่งตำแหน่ง “ช่างไฟหนึ่ง” หรือ “คนปรุงไอ” ในที่สุด เพราะคำสั่งให้สิ้นสุดการใช้งานรถจักรไอน้ำมาถึง....
คุณปู่ คุณทวดรถจักรไอน้ำ ทุกคัน แม้นจะเหลือบ้างเพียงสองสามคันไว้ทำหน้าที่สับเปลี่ยน แต่สุดท้ายทุกคันก็ถึงแก่กาลเวลาแปรสภาพเป็น “เศษเหล็ก” ช่างกิโลขายอย่างน่าอาลัย
จาก “ช่างไฟ” เปลี่ยนสถาะนเป็น “ช่างเครื่อง” หรือ จาก “ช่างไฟสอง” เราอาจได้ยินคำใหม่กับภารกิจใหม่คือ “คนการช่าง” เพราะนี่คือยุคทองของ “ดีเซล”
วันนี้... คนปรุงไอ สำหรับรถจักรใช้งาน กลายเป็น “ตำนาน”
ไปพร้อมกับการลาจากยุครถจักรไอน้ำ
พขร. รถจักรไอน้ำ ปัจจุบัน ผู้สืบสานตำนาน "นักปรุงไอ" ยุคใหม่ ภาพจาก ไทยรัฐ |
แต่ก็ยังนับว่าโชคดีที่ เมืองไทย ยังเหลือรถจักรไอน้ำไว้เพื่อการรำลึก...พร้อม ๆ
กับ “นักปรุงไอ” รุ่นใหม่ที่แม้นจะไม่ต้องโทรมกายชุ่มเหงื่อแบบ
รุ่นปู่ตาที่เคยทำมาในอดีต... แต่ผมเชื่อว่าสิ่งที่ยังคงเหมือนกันไม่เปลี่ยนแปลงคือ
สิ่งที่ ระลึก ตันนะ อดีตพขร 824
แขวงหาดใหญ่ ยังย้ำเสมอว่า
“..พขร.จะเก่งมาจากไหนก็ขับรถจักรไม่เอาอ่าวได้...ถ้าตราบใดที่ไม่มีบัดดี้ช่างไฟหนึ่งที่เป็น “ยอดนักปรุงไอ!”
ป้ายกำกับ:บันทึกความทรงจำ
หมวดหมู่เนื้อหา
- บทความเก่า (2)
- บันทึกความทรงจำ (6)
- รถจักรไอน้ำสยาม (4)
- รถไฟต่างประเทศ (4)
- รถไฟบันเทิง (4)
จำนวนการเข้าชม
81411
บทความยอดนิยม
-
ทุกครั้งที่ผมเห็นของรถจักรไอน้ำ ที่มีรูปร่างหน้าตาแปลกประหลาด เตี้ย..ตุ่น ดุดัน...ภาพเก่า ๆ ในอดีตเมื่อครั้งนั่งดูคุณปู่แมกอาเธอร์ยังคง...
-
สวัสดีปีใหม่..2557 ทุกท่านครับ... ไม่ได้เขียนบทความลงใน blog นานพอดู ..วันนี้มีเวลาว่าง ขออนุญาตนำเรื่องราวของ รถไฟในอดีต มาเ...
-
ในระหว่างการเดินทางด้วยรถไฟ ในวันหนึ่งที่ผ่านมา ผมนั่งมองวิวสองข้างทางรถไฟ ผ่านสายตาไปที่ละเฟรม ที่ละฃอต เงาของเสาโทรเลขแต่ละต้น เคลื่อนผ...
-
Big Boy 4014 + 4012 พ่วงพหุ ถ้าจะลำดับความถึง ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะแล้ว มาถึงยุคนี้้ผมก็ยังคิดว่าไม่มียานพาหนะใดที่ดูแล้วม...
-
ผมเกิด และเติบโตในสังคมของ "คนรถไฟ" เมื่อเริ่มลืมตามองโลก ก็เห็นรถจักรไอน้ำ...เสียง ฉึกฉั่ก ๆ ๆ พร้อมไอน้ำพวยพุ่งขาวโพลน ดูมีชี...
-
รถจักรไอน้ำมิกาโด วางล้อแบบ 2-8-2 ผลิตประเทศญีป่น ภาพ :http://steamtrainstories.com ยะลา... ในอดีตที่ผ่านมาราว 30-40 ปีนั้น เป็นเพี...
-
เมื่อเอ่ยคำว่า "ประวัติศาสตร์" หลายหลากสำนักมักรวมเอาส่วนหนึ่งของ "คำบอกเล่า" หรือสิ่งที่เก่ากว่าท...
-
คืนหิมะตก..ก่อนวันคริสต์มาส เด็กน้อยนอนกระสับกระส่าย กับการเดินทางมาเยือนของ ซานต้าฯ และแล้วในคืนนั้น เสียงเครื่องจักรไอน้ำดำทะมึน พ...
เวบไซด์องค์กรรัฐ
สถิติการเข้าเว็บ
Thanks for. ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น :